วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 ประการ


  
ตั้งแต่คนรักษาเท้าช้าง  ไปจนถึงเหล่าอำมาตย์ ในเมืองมิถิลานครซึ่งมีพลเมือง 65 ล้านคน  ล้วนจาริกอยู่ในโมหะภูมิทั้งสิ้น  คือหลงไปกับเงิน เห็นยศเห็นตำแหน่งเป็นสิ่งสำคัญ  และพากันแย่งผลประโยชน์

ความนัยแห่ง “พระมหาชนก”
         เพราะเคยเป็นผู้รับใช้เบื้องพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็น เวลานาน  ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ วิวัฒน์  ศัลยกำธร จึงน้อมนำแนวพระราชดำริของพระองค์ท่านมาเป็นเข็มทิศนำทาง  ทั้งกระบวนการคิด และการลงมือทำกระทั่งการมองเห็นเป้าหมายของการทำงานชัดเจนว่า   เมื่อผู้คนส่วนใหญ่ยังหลงมัวเมาอยู่ในโมหะภูมิ  เราก็ต้องพาพวกเขาออกจากโมหะภูมิ  มาสู่สัมมาทิฐิ  คือความเห็นชอบก่อนเป็นอันดับแรก         ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติย้ำถึงทิศทางการทำงานภายใต้ปรัญชญาเศรษฐกิจพอ เพียงประการสำคัญในอันดับต้นๆ ว่า นี่จึงเป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมการดำเนินรอยตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจึงต้องให้ความสำคัญกับ “การศึกษา” และ “การพัฒนาคน” เป็นพื้นฐาน

        ประการหนึ่งยอมรับว่าผู้คนอยู่ในความหลงมัวเมา  ต้องให้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่พวกเขาด้วยการศึกษา
        ประการหนึ่งจะพัฒนาสังคมได้  จำต้องพัฒนาคน  ให้คนที่ได้รับการพัฒนาแล้วไปพัฒนาสังคมอีกทอดหนึ่ง  เขายืนยันว่ากว่าจะเป็นโครงการต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น   พระองค์ได้ทรงทดลองทำอย่างจริงจังจนได้ผลสำเร็จแล้วจึงนำมาชี้แนะและเผย แพร่ออกไป
ต้องทำให้ดินฟื้นคืนชีพ

         จากการทรงงาน  พระองค์ทรงพบว่า ปัญหาบ้านเมืองมีเยอะมาก  การเอาะชนะ ปัญหาต่างๆ เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านนั้น   ทรงดำริว่า  ดินเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญของเกษตรกร  และปัจจุบันปัญหาดินเสื่อมคุณภาพเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไข

       “พระองค์ท่านก็ทรงทำโครงดารพัฒนาดิน  เพื่อจะนำเอาความรู้ไปสอนให้ชาวบ้านได้รู้ว่า  ดินมีความสำคัญกับการพัฒนาประเทศอย่างไร”
        แม้ตัวเขาเองเมื่อตัดสินใจดำเนินชีวิตตามรอยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อพิสูจน์ให้ได้ว่า  ทำได้และดำรงชีวิตอยู่ได่จริง  เขาก็เริ่มด้วยหลักคิดที่ยึดถือง่ายๆ  ว่าเอาเรื่องกินเป็นพื้นฐานก่อน มีน้ำกิน มีข้าวกิน และมีอากาศหายใจ

ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง
          ความรู้ที่ได้เมื่อครั้งตามเสด็จ คือพระเจ้าอยู่หัวให้ความสำคัญกับการปลูกป่า  เพราะป่าให้อาหาร ให้น้ำ และใหอากาศ  เมื่อเขาตัดสินใจลาออกจากราชการ  มาเริ่มต้นกับผืนดินแห้งแล้งจำนวน 40 ไร่ ตำบลมาบเอื้อง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เขาขุดบ่อน้ำลึก 15 เมตร กินพื้นที่ 5 ไร่ เมื่อได้น้ำแล้วเขาก็เริ่มปลูกป่าทันที   ตามแนวพระราชดำรัสเกี่ยวกับป่า 3  อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ที่ได้พระราชทาน ณ โรงแรมริมคำ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2523
        “...การ ปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรมีประโยชน์ให้เขาอยู่ได้  ให้ใช้วิธีปลูกไม้สามอย่าง  แต่มีประโยชน์สี่อย่าง คือ ไม้ใช้สอย  ไม้กิน  ไม้เศรษฐกิจ  โดยปลูกรองรับการชลประทาน ปลูกรับซับน้ำและปลูกอุดช่วงไหล่ตามร่องห้วย  โดยรับน้ำฝนอย่างเดียวประโยชน์ที่สี่คือ ได้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ...”
         วิวัฒน์  ศัลยกำธร  อธิบายหลักการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ว่าเป็นแนวคิดขิงการผสมผสานการอนุรักษ์ ดิน น้ำ และการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้  ควบคู่กับความต้องการด้านเศรษฐกิจ  ด้วยการจำแนกป่า 3 อย่าง ดังนี้
           1. ป่าไม้ใช้สอย  คือ ไม้โตเร็ว สำหรับใช้ในครัวเรือน เช่น สะเดา ไม้ไผ่
           2. ป่าไม้กินได้  คือ ไม้ผล เช่น มะม่วง และผักกินใบต่างๆ
           3. ป่าไม้เศรษฐกิจ  คือ  ไม้ที่ปลูกไว้ขาย  หรือไม้เศรษฐกิจ เช่น ไม้สัก

ส่วนประโยชน์ 4 อย่าง จำแนกประโยชน์แต่ละอย่างออกเป็น
           1. ป่าไม้ใช้สอย  นำมาสร้างบ้าน  ทำเล้าเป็ด  เล้าไก่  ด้ามจอบเสียม  ทำหัตถกรรม  หรือกระทั่งใช้เป็นเชื้อเพลิง (ฟืน) ในการหุงต้ม
           2. ป่าไม้กินได้  นำมาเป็นอาหาร  ทั้งพืชกินใบ  กินผล  กินหัว  และเป็นยาสมุนไพร
           3. ป่าไม้เศรษฐกิจ  เป็นแหล่งรายได้ของครัวเรือน  เป็นพืชที่สามารถนำมาจำหน่ายได้  ซึ่งควรปลูกพืชหลากหลายชนิดเพื่อลดความเสี่ยงเรื่องราคาตกต่ำและไม่แน่นอน
           4. ประโยชน์ในการช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ  การปลูกพืชที่หลากหลายอย่างเป็นระบบ จะช่วยสร้างสมดุลของระบบนิเวศในสวน  ช่วยปกป้องผิวดินให้ชุ่มชื้น ดูดซับน้ำฝน และค่อยๆ ปลดปล่อยความชื้อสู่สวนเกษตรกรรม

ปลูกป่า 5 ระดับ
ดำรงชีพ  และฟื้นธรรมชาติ

        วิวัฒน์ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ตรงว่า  สภาพดิน 40 ไร่นั้น  เป็นดินที่ตายแล้วจากการใช้ปลูกพืชเชิงเดี่ยวและใช้สรางเคมีมาเป็นเวลานาน  เขาต้องทำให้ดินฟื้นคืนชีพกลับมาก่อน  ด้วยเทคนิคการปลูกไม้ 5 ระดับ ตามชั้นความสูงของไม้ซึ่งได้มาจากการสังเกตธรรมชาติของป่าคือ

        ไม้ระดับสูง เช่น ตะเคียน ยางนา มะค่าโมง สะตอ มะพร้าว
        ไม้ระดับกลาง เช่น ผักหวานป่า ติ้ว พลู กำลังเสือโคร่ง กล้วย
        ไม้พุ่มเตี้ย เช่น ผักหวานบ้าน มะนาว พริกไทย ย่านาง เสาวรส
        ไม้เรี่ยดิน  เช่น  ผักเสี้ยน  มะเขือเทศ สะระแหน่
        ไม้หัวใต้ดิน  เช่น ข่า ตะไคร้ ไพล เผือก มัน บุก กลอย
          เมื่อปลูกไม้ครบทั้ง 5 ระดับแล้ว เอาฟางห่มดินให้หนาเพื่อรักษาความชื้นให้กับดิน  จุลินทรีย์ในดินจะขยายตัว  รากของต้นไม้จะชอนไชไปในดินได้ง่าย  ตามด้วยปุ๋ยแห้งจำพวกมูลสัตว์โรยทับ  แม้จะไม่ถึงดินโดยตรง  แต่ความชื้นจะค่อยๆ ดึงปุ๋ยลงสู่ดิน ดินก็จะย่อยสลาย
         เขาย้ำอย่างหนักแน่นว่า  นอกจากทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้แล้วนี่ยังเป็นยุทธวิธีสู้ภัยแล้งได้อย่างมหัศจรรย์ “ถ้าเราทำให้คนไทยั้งประเทศหันมาปลูกต้นไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ด้วยเทคนิคการปลูกไม้ 5 ระดับ เมืองไทยก็จะไม่ร้อนอย่างแน่นอน”       ในฐานะกรรมการที่ปรึกษา โครงการรักษาป่า  สร้างคน 84 ตำบล วิถีพอเพียง เขาย้ำว่า
        “เราต้องสร้างทีม  เพื่อให้ทีมไปสร้างคนในตำบลให้มีความรู้มีคุณธรรม  มีความเพียร  และให้ตัวเองรู้จักพอ  ต้องเพียรจนพอแล้วใจจะรู้จักพอ  การให้ทานคือการวัดการพอ”

ที่มา http://www.vcharkarn.com/varticle/39438

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

คุณธรรมจริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ต


จริยธรรม หมายถึง หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ซึ่งเมื่อพิจารณาจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์แล้ว สามารถสรุปได้ 4 ประเด็น ได้แก่
          1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั่วไปหมายถึงสิทธิที่จะอยู่ตามลำพังและเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น ปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับการละเมิดความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้
- การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร
- การใช้เทคโนโลยีในกาติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการของพนักงาน
- การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
- การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าใหม่ขึ้นมาแล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น
2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งคือความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลด้วย ประเด็นด้านจริยธรรมที่เกี่ยวกับความถูกต้องของข้อมูล โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่
3. ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
          ในสังคมของเทคโนโลยีสารสนเทศมักจะกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เมื่อท่านซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีการจดลิขสิทธิ์ นั่นหมายความว่าท่านจ่ายค่าลิขสิทธิ์ในการใช้ซอฟต์แวร์นั้น ซึ่งลิขสิทธิ์ในการใช้จะแตกต่างกันไปในแต่ละสินค้าและบริษัท บางโปรแกรมอนุญาตให้ติดตั้งได้เพียงเครื่องเดียว ในขณะที่บางโปรแกรมอนุญาตให้ใช้ได้หลายเครื่อง ตราบใดที่ท่านยังเป็นบุคคลที่มีสิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมา การคัดลอกโปรแกรมให้กับบุคคลอื่น เป็นการกระทำที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่าท่านมีสิทธิในโปรแกรมนั้นในระดับใด
    4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
คือการป้องกันการเข้าไปดำเนินการกับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ตัวอย่างสิทธิในการใช้งานระบบเช่น การบันทึก การแก้ไข/ปรับปรุง และการลบ เป็นต้น ดังนั้น ในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มีการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ถือว่าเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว ในการใช้งานคอมพิวเตอร์และเครือข่ายร่วมกัน หากผู้ใช้ร่วมใจกันปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของแต่ละหน่วยงานอย่างเคร่งครัดแล้ว การผิดจริยธรรมตามประเด็นที่กล่าวมาข้างต้นก็คงจะไม่เกิดขึ้น

จรรยาบรรณการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
1. ให้ระมัดระวังการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น
2. ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้
3. ไม่กระทำการรบกวนผู้อื่นด้วยการโฆษณาเกินความจำเป็น
4. ดูแลและแก้ไขหากตกเป็นเหยื่อจากโปรแกรมอันไม่พึงประสงค์ เพื่อป้องกันมิให้คนอื่นเป็นเหยื่อ

บัญญัติ 10 ประการ
1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องมีจรรยาบรรณการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
7. ให้ระมัดระวังในการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น
8. ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้
9. ไม่กระทำการรบกวนผู้อื่นด้วยการโฆษณาเกินความจำเป็น
10. ดูแลและแก้ไขหากตกเป็นเหยื่อจากโปรแกรมอันไม่พึงประสงค์ เพื่อป้องกันมิให้คนอื่นเป็นเหยื่อ
ที่มา : http://www.nattapon.com